แชร์

“งานก่อสร้าง” ทุกประเภท มีอะไรบ้าง [มือใหม่ควรอ่าน]

อัพเดทล่าสุด: 20 พ.ค. 2024
7147 ผู้เข้าชม
งานก่อสร้าง ทุกประเภท มีอะไรบ้าง

ทุก ๆ คนย่อมเข้าใจคำว่า งานก่อสร้าง กันอยู่แล้วจริงไหมครับ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำอาชีพที่เกี่ยวกับการก่อสร้างเลยก็ตาม สำหรับผม คำว่า “งานก่อสร้าง” ก็ทำให้นึกถึงไซต์งาน ที่มีคนทำงานมากมาย แต่ก็ไม่เคยเข้าใจเลยว่า งานก่อสร้างมีอะไรบ้างนะ

ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมาย และประเภทของงานก่อสร้างกันครับรวมถึงแหล่งที่มา การว่าจ้างงานให้กับผู้รับเหมาไปด้วยเลย หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

งานก่อสร้าง คืออะไร

งานก่อสร้าง (Construction) คือการกระทำที่ทำให้เกิดการประกอบ เป็นอาคาร โครงสร้าง หรือระบบสาธารณูประโภคขึ้นมาใหม่ ด้วยวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมักจะหมายถึงงานทางด้านโยธาเป็นส่วนมาก แต่ก็รวมถึงการซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติม และการรื้อถอนด้วยเช่นกัน

อ้างอิงจาก : พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐

การทำงานโดยทั่วไป ของงานก่อสร้าง จะมีขั้นตอนดังนี้

  1. วางแผนการทำงาน เป็นการคิด Schedule การทำงานทั้งหมด เพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนทำงานจริง
  2. การออกแบบ เป็นหน้าที่ของสถาปนิก และวิศวกร ที่จะต้องออกแบบโครงสร้างกับระบบตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ ให้สามารถก่อสร้างได้จริง
  3. เตรียมพื้นที่ เป็นการเตรียมที่ดินให้แน่นอน ก่อนที่จะปลูกสร้างใด ๆ
  4. การก่อสร้าง เป็นการก่อสร้างโครงสร้างตามแบบที่รับอนุมัติแล้ว
  5. การติดตั้งระบบ เป็นการวางระบบต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ระบบไฟฟ้า-ประปา

งานก่อสร้างมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะที่เราได้เห็นถนน สะพาน โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และอื่น ๆ ล้วนเป็นผลลัพธ์จากการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น ผู้ว่าจ้าง คนออกแบบ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง เป็นต้น

4 ประเภทงานก่อสร้าง

ประเภทของงานก่อสร้างมีหลายแบบ อาจขึ้นอยู่กับลักษณะ ขนาด และวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

  • งานก่อสร้างที่พักอาศัย (Residential Construction)

เป็นการก่อสร้าง บ้านพักอาศัยที่ออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม

  • งานก่อสร้างอาคารสาธารณะ (Building Construction)

เป็นการก่อสร้างที่ใช้เป็นสถานที่บริการสาธารณะ หรือใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน และสามารถรองรับคนจำนวนมากได้ เช่น สำนักงาน โรงเรียน โรงพยาบาล โบสถ์ โรงภาพยนตร์ คลังสินค้า อาคารพาณิชย์ เป็นต้น

  • ประเภทงานโยธา (Heavy Engineering Construction)

เป็นการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ที่มีความซับซ้อน เช่น สะพาน ถนน สนามบิน อุโมงค์ เขื่อน และงานชลประทาน เป็นต้น

งานก่อสร้างประเภทนี้ จะต้องใช้ความรู้และทักษะทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) ในการออกแบบ คำนวณ วิเคราะห์ และมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง ให้เป็นไปตามเป้าหมายและข้อกำหนด

  • ประเภทงานก่อสร้างเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Construction)

เป็นงานก่อสร้างประเภทโรงงานอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงถลุงแร่และเหล็ก โรงงานผลิตภัณฑ์เคมี โรงไฟฟ้าพลังปรมาณู และโรงงานอุตสาหกรรมหนักต่าง ๆ

การก่อสร้างประเภทนี้ผู้ออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีความรู้ และมีประสบการณ์ด้านวิศวกรรมในแขนงต่าง ๆ สูงมาก ไม่เพียงแต่วิศวกรรมโยธาเพียงเท่านั้น แต่เป็นวิศวกรรมแขนงอื่น ๆ ตามแต่ละอุตสาหกรรม นั่นเองครับ

แหล่งที่มาของงานก่อสร้าง

ตามข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แหล่งที่มาของการจ้างงานก่อสร้างในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 แหล่งหลัก ดังนี้

1. ภาคเอกชน

ในส่วนภาคเอกชน ที่เป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้าง โดยจะต้องพิจารณาถึงผลกำไร-ขาดทุนของโครงการ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

  • โครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น โรงงาน สำนักงาน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อขายหรือบริการ
  • โครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จะเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์

2. ภาครัฐวิสาหกิจ

ในส่วนภาครัฐวิสาหกิจ จะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล ที่มีการดำเนินธุรกิจแบบเอกชน ที่ให้บริการเพื่อสร้างรายได้ให้กับหน่วยงาน ซึ่งจะมีการลงทุนโครงการก่อสร้างจากงบประมาณแผ่นดิน  เช่น ทางด่วน ท่าเทียบเรือ โรงไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น

3. ภาคราชการ

ในส่วนภาคราชการ จะเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีการดำเนินการโดยไม่แสวงหาผลกำไร แต่ทำเพื่อให้บริการสาธารณูประโภคแก่ประชาชน เช่น ทางหลวงแผ่นดิน เขื่อนและคลองส่งน้ำ ถนนและสะพานในเขตพื้นที่เมือง เป็นต้น

สรุป

สรุปแล้ว งานก่อสร้าง หมายถึงการก่อสร้างขึ้นใหม่ และรวมถึงการซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติม และการรื้อถอน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก คือการก่อสร้างที่พักอาศัย อาคารสาธารณะ งานประเภทโยธา และงานก่อสร้างเพื่ออุตสาหกรรม

เราจะเห็นว่าการก่อสร้าง มีความหลากหลาย และมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก เพราะงานก่อสร้างสามารถบ่งชี้ความเจริญของชุมชนได้อย่างชัดเจน และยังช่วยให้เกิดการจ้างงานให้กับคนในระแวกนั้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้รับเหมา คือใคร
การเลือก ผู้รับเหมา แบบรายย่อยหรือนิติบุคคล ในโครงการก่อสร้าง ควรต้องเข้าใจหลักคิดการคัดกรองผู้รับเหมาที่ดี เพื่อให้งานก่อสร้างประสบความสำเร็จ
18 มิ.ย. 2024
เครื่องมือช่างก่อสร้าง
คู่มือเลือกซื้อและดูแลรักษา เครื่องมือช่างก่อสร้าง ครอบคลุมทั้งเครื่องมือก่อสร้างพื้นฐานและเฉพาะทาง พร้อมบอกแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ช่างก่อสร้าง
23 พ.ค. 2024
อุปกรณ์ก่อสร้าง
คู่มือมือใหม่ อุปกรณ์ก่อสร้าง กับทุกสิ่งที่ควรรู้ ตั้งแต่ประเภท รายชื่อ พร้อมเคล็ดลับการเลือกซื้ออุปกรณ์วัสดุก่อสร้าง
23 พ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy