แชร์

ผู้รับเหมา คือใคร? เลือกอย่างไร ไม่ให้โดนหลอก!

อัพเดทล่าสุด: 18 มิ.ย. 2024
3903 ผู้เข้าชม
ผู้รับเหมา คือใคร

การเลือก ผู้รับเหมา เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะผู้รับเหมาก่อสร้างจะเข้ามาจัดการทุกอย่างให้เรา แต่ปัญหาที่พบบ่อย คือการทิ้งงานกลางคัน ไม่สนใจคุณภาพงานก่อสร้าง หรือเอาเปรียบลูกค้าด้วยการเพิ่มราคาในระหว่างการทำงาน

เพื่อเลี่ยงปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานและโดนเอาเปรียบ ในบทความนี้ พวกเรา บริษัทรับเหมาก่อสร้าง S.J.Building จะขอแชร์ วิธีการเลือกผู้รับเหมาที่ดี ให้ลองพิจารณากันดูครับ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ผู้รับเหมา คือใคร

ผู้รับเหมา คือ บุคคลหรือบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างให้รับผิดชอบงานก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าจะบ้าน อาคาร โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ โดยผู้รับเหมาจะเข้ามาบริหารจัดการตั้งแต่การออกแบบ จัดหาวัสดุก่อสร้าง จัดสรรแรงงาน ไปถึงควบคุมการก่อสร้างให้เสร็จสิ้นตามที่ตกลงกันไว้ในเอกสารสัญญา

ผู้ว่าจ้างไม่จำเป็นต้องดำเนินการเองทุกขั้นตอน เพราะผู้รับเหมาจะรับหน้าที่เข้ามาบริหารจัดการให้ทั้งหมด และคิดค่าบริการในรูปแบบราคาเหมารวม สำหรับงานที่รับผิดชอบทั้งหมด

ประเภทของผู้รับเหมาและขอบเขตงาน

ในวงการก่อสร้าง สามารถแบ่งประเภทของผู้รับเหมา ตามลักษณะการจดทะเบียนได้ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ผู้รับเหมาแบบนิติบุคคล กับ ผู้รับเหมารายย่อย ซึ่งมีขอบเขตการให้บริการ ศักยภาพ และลักษณะการทำงานที่ต่างกัน ดังนี้

ผู้รับเหมาแบบนิติบุคคล

ผู้รับเหมาแบบนิติบุคคล คือ ผู้รับเหมาที่ดำเนินกิจการในรูปแบบของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสภาวิศวกร

การที่ผู้รับเหมามีสถานะเป็นนิติบุคคล ถือเป็นข้อได้เปรียบสำคัญที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ว่าจ้าง เพราะสามารถตรวจสอบประวัติการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และความมั่นคงของบริษัทได้จากหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ กรณีเกิดข้อพิพาทหรือความเสียหายขึ้นระหว่างก่อสร้าง ผู้จ้างก็สามารถใช้สิทธิ์ทางกฎหมายเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้รับเหมาได้เต็มที่

ทั่วไป ผู้รับเหมานิติบุคคลส่วนใหญ่จะมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ และเทคโนโลยี มีศักยภาพพอที่จะรับงานก่อสร้างขนาดใหญ่ซับซ้อนได้ ไม่ว่าจะอาคารสูง คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยมีทีมงานครอบคลุมทุกส่วนทั้งสถาปนิก วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเครื่องกล ช่างเทคนิค และแรงงานฝีมือด้านต่าง ๆ เพื่อให้การก่อสร้างได้มาตรฐาน และเสร็จทันตามกำหนดเวลา

ผู้รับเหมารายย่อย

ผู้รับเหมารายย่อย คือ ผู้รับเหมาที่ดำเนินกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ส่วนใหญ่เป็นการรวมตัวของช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ ไม่ผูกมัดกับองค์กรใหญ่

เพราะผู้รับเหมารายย่อยมีขนาดเล็ก มีจำนวนบุคลากรและเงินทุนค่อนข้างจำกัด จึงมักรับงานก่อสร้างที่ขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น บ้านพักอาศัย ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก หรือโครงการต่อเติม ตกแต่ง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคาร แทนการรับงานใหญ่ระดับอาคารสูงหรือคอมเพล็กซ์อาคาร

ผู้รับเหมารายย่อยส่วนมากจะเลือกรับงานเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด เช่น งานก่ออิฐฉาบปูน งานมุงหลังคา งานติดตั้งประตูหน้าต่าง งานทาสี งานเดินท่อประปา งานไฟฟ้า หรือแอร์ โดยรวมกลุ่มผู้รับเหมารายย่อยหลาย ๆ ทีมที่ชำนาญต่างกันเข้ามาช่วยกันทำงานในโครงการเดียวกัน ข้อดีคือสามารถเลือกจ้างผู้ที่เก่งสุดในแต่ละด้านโดยตรง แต่ข้อเสียคือต้องจัดการประสานงานผู้รับเหมาหลายรายพร้อมกัน ทำให้เกิดความล่าช้า หรือปัญหาการทำงานที่ไม่สอดคล้องกันได้

เทียบข้อดี/ข้อเสีย ระหว่างผู้รับเหมานิติบุคคล กับผู้รับเหมารายย่อย

หัวข้อข้อดี ข้อเสีย
ผู้รับเหมานิติบุคคล
  1. น่าเชื่อถือ ตรวจสอบประวัติกิจการได้
  2. บริการครบวงจร ตั้งแต่ออกแบบถึงก่อสร้าง
  3. ทีมงานหลากหลายครอบคลุมงานทุกด้าน
  4. ความพร้อมสูง รับงานใหญ่และซับซ้อนได้
  5. มีการประกันและรับผิดชอบความเสียหาย

  1. ค่าบริการสูงกว่าผู้รับเหมารายย่อย
  2. บางบริษัทรับเฉพาะบางขั้นตอน ไม่ครบวงจร
  3. ใช้เวลานาน ในการเลือกบริษัทผู้รับเหมา
ผู้รับเหมารายย่อย
  1. ค่าบริการ ราคาประหยัดกว่า
  2. เลือกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรงได้
  3. เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ไม่ใหญ่มาก

  1. ไม่จดทะเบียนนิติบุคคล ขาดความน่าเชื่อถือ
  2. ศักยภาพจำกัด รับงานขนาดใหญ่ไม่ได้
  3. หลายทีมประสานงานกัน อาจล่าช้า
  4. ไม่มีบริการครบวงจร ต้องควบคุมงานใกล้ชิด
  5. การรับประกันผลงานที่จำกัดกว่า

ผู้รับเหมาแบบครบวงจร กับไม่ครบวงจร

ไม่ว่าจะผู้รับเหมานิติบุคคลหรือรายย่อย ก็สามารถให้บริการแบบครอบคลุมทั้งกระบวนการก่อสร้างได้ ตั้งแต่ออกแบบ ก่อสร้าง ตกแต่ง ไปถึงการดูแลหลังการขาย เรียกว่าเป็นบริการแบบครบวงจร ข้อดีคือผู้จ้างสะดวก ไม่ต้องประสานงานหลายฝ่าย

ส่วนบริการแบบไม่ครบวงจร คือรับทำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของงานเท่านั้น ข้อดีคือเลือกจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ แต่ผู้จ้างต้องดูแลประสานงานหลายส่วนเอง ไม่คล่องตัวเท่าบริการแบบจบในที่เดียวครับ

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับเหมา

ผู้รับเหมามีหน้าที่หลัก คือการควบคุมโครงการก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วง ตามสัญญาที่ตกลงไว้กับผู้ว่าจ้าง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่

  • ศึกษาแบบก่อสร้างและรายละเอียดโครงการ ให้เข้าใจขอบเขตงานที่ต้องรับผิดชอบ
  • จัดเตรียมวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์/เครื่องมือ และแรงงานให้เพียงพอต่อขนาดงาน
  • ควบคุมตรวจสอบการทำงานของคนงานและช่าง ให้เป็นไปตามแบบก่อสร้าง
  • ติดตามความคืบหน้าของงานที่ผู้รับเหมารับผิดชอบ และคอยรายงานปัญหาหรืออุปสรรคให้เจ้าของโครงการทราบ
  • ประสานงานกับผู้ควบคุมงาน วิศวกร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้การก่อสร้างดำเนินไปราบรื่น (หน้างานก่อสร้าง ประกอบด้วยใครบ้าง? ที่เกี่ยวข้องกัน)
  • บริหารจัดการด้านการเงินกับงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนและสัญญาจ้าง
  • จัดทำเอกสารที่จำเป็น เช่นเอกสารรายงานความคืบหน้า ใบแจ้งหนี้ หรือสรุปยอดใช้จ่าย ให้เป็นปัจจุบัน
  • ตรวจความเรียบร้อยของงานก่อสร้าง ก่อนที่จะส่งมอบให้กับเจ้าของโครงการ
  • ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องตามตรวจพบ
  • ทำความสะอาดบริเวณสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยหลังก่อสร้างเสร็จสิ้น

ข้อดีของการใช้บริการผู้รับเหมา

  1. บริหารจัดการโครงการได้มีประสิทธิภาพ งานเสร็จตรงตามกำหนด
  2. ควบคุมต้นทุนได้ ไม่บานปลาย เพราะมีการตกลงราคาเหมารวมกันไว้ก่อน
  3. มีการรับประกันงานก่อสร้างในระยะเวลาที่กำหนด กรณีพบข้อบกพร่องผู้รับเหมาจะแก้ไขให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  4. ประหยัดเวลาและความยุ่งยาก ในการดูแลงานก่อสร้างด้วยตัวเอง ผู้รับเหมารับผิดชอบให้แทน

ทำตามนี้ ถ้าอยากได้ ผู้รับเหมาที่ดี

ถึงการจ้างผู้รับเหมาจะมีข้อดีมาก แต่ก็ต้องเลือกอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อผู้รับเหมาที่ไม่ซื่อสัตย์ ด้วยปัจจัยที่แนะนำใช้พิจารณา ดังนี้

1. เข้าใจการทำงานของผู้รับเหมา

การก่อสร้าง เป็นงานที่ต้องใช้ความร่วมมือระหว่างผู้รับเหมากับผู้ว่าจ้าง แต่บางครั้ง ก็มีปัญหาที่ทำให้ผู้รับเหมาไม่สามารถทำงานต่อได้ หรือต้องยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด

ส่วนใหญ่เกิดจาก ผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของบ้าน ที่ไม่เข้าใจแบบก่อสร้างของตัวเอง ไม่ตกลงสเปควัสดุก่อสร้างให้ชัดเจน หรือพยายามแก้ใขโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น เพื่อให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วง คุณจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องต่อไปนี้ครับ

  1. ทำความเข้าใจแบบก่อสร้างของตัวเอง เมื่อได้รับแบบบ้านจากผู้รับเหมา คุณควรพิจารณาให้แน่ใจ ว่ามีส่วนไหนที่ไม่พอใจ เพื่อแจ้งให้ผู้รับเหมาปรับปรุงได้ทันที ไม่ควรรอจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง
  2. กำหนดสเปคของวัสดุก่อสร้างให้ชัดเจน เมื่อตกลงแบบได้แล้ว ให้ทำสัญญาระหว่างคุณกับผู้รับเหมา โดยอธิบายเสปควัสดุก่อสร้างที่จะใช้อย่างชัดเจน เช่น สี ขนาด ยี่ห้อ เกรด เป็นต้น และเมื่อถึงขั้นตอนการเลือกวัสดุ ก็ไม่ควรเปลี่ยนใจจะใช้อันที่แพง หรือถูกกว่าตามที่ตกลง
  3. ไม่ควร Role เป็นสถาปนิก เมื่อการก่อสร้างได้เริ่มขึ้นแล้ว คุณควรไว้ใจให้ผู้รับเหมาทำงานตามแผนที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ หากขาดคำแนะนำจากสถาปนิก หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจเสี่ยงต่อปัญหาด้านกฎหมาย และความปลอดภัยด้านการก่อสร้าง
  4. จ่ายค่าจ้างให้ตรงงวด หากการก่อสร้างกำลังดำเนินอยู่ คุณควรจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับเหมาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา ไม่ควรหนีการจ่าย หรือขอให้ทำงานเพิ่มเติมโดยไม่จ่ายเงิน ไม่งั้นอาจทำให้งานก่อสร้างช้าลง หรือถูกทิ้งไว้ได้ เพราะผู้รับเหมาจะต้องมีเงินหมุนเวียน ให้กับลูกจ้าง และซื้อวัสดุก่อสร้าง อยู่สม่ำเสมอ

 2. ผลงานที่ผ่านมา

การพิจารณาผลงานที่ผ่านมาของผู้รับเหมา เป็นวิธีที่ดีในการประเมิณความสามารถและความน่าเชื่อถือ โดยคุณสามารถขอดูผลงานของผู้รับเหมาได้ เพื่อดูว่าจะปฎิบัติตามตกลงได้ไหม เช่น เวลา และงบประมาณที่ใช้

เป็นไปได้ แนะนำว่าควรพูดคุยกับผู้ว่าจ้างเก่าของผู้รับเหมา เพื่อฟังความพึงพอใจ และถามถึงปัญหาระหว่างการทำงาน

3. จดทะเบียนนิติบุคคล

การจดทะเบียนนิติบุคคล สามารถยืนยันได้ว่าผู้รับเหมาเป็นบุคคลที่มีอยู่จริง มีสถานะทางกฎหมายที่ประกอบธุรกิจก่อสร้าง และช่วยให้คุณได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายด้วย ในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือมีความเสียหายเกิดขึ้น

แนะนำให้ขอดูหลักฐาน การจดทะเบียนนิติบุคคลของผู้รับเหมา เช่น ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบสำคัญการจดทะเบียน

4. ประเมิณราคา และระยะเวลา

การประเมิณราคา และระยะเวลาทำงาน เป็นขั้นตอนสำคัญที่ใช้ตัดสินใจเลือกผู้รับเหมา เพราะจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของงบประมาณ และเวลาที่ต้องใช้ ว่าเหมาะสมหรือไม่

โดยใบเสนอราคา ควรระบุรายละเอียดของงาน เช่น ขอบเขต วิธีการทำงาน วัสดุที่ใช้ การรับประกัน และควรระบุว่า ผู้รับเหมาจะรับผิดชอบในกรณีที่มีการแก้ใข หรือเกิดความผิดพลาดในงานก่อสร้างด้วย

5. คุณภาพวัสดุ และฝีมือของช่าง

ผู้รับเหมาที่ดี จะใช้วัสดุก่อสร้างที่คุณภาพ และเลือกช่างฝีมือที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญในการก่อสร้าง เพราะการใช้วัสดุคุณภาพ สามารถช่วยให้สิ่งปลูกสร้างมีความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัยได้โดยตรง แนะนำว่าควรขอดูตัวอย่างวัสดุ ก่อนตัดสินใจ

6. การติดต่อสื่อสาร และติดตามผล

การติดต่อสื่อสารกับผู้รับเหมาสม่ำเสมอ และติดตามผลงานการทำงาน จะช่วยให้งานก่อสร้างสำเร็จตามแผน คุณควรเลือกผู้รับเหมาที่ติดต่อได้สะดวก เช่น โทรศัพท์ อีเมล เพื่อให้ทราบความคืบหน้า หรือปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นปัจจุบันมากที่สุด

คุณควรจะต้องไปดูหน้างานเองบ้าง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับเหมาจะทำงานตามสัญญารับงาน

7. แบ่งจ่ายเงินค่าจ้าง เป็นงวด ๆ

การจ่ายเงินค่าจ้างให้กับผู้รับเหมา ควรแบ่งออกเป็นงวด ๆ ตามความคืบหน้าของงาน ไม่ควรจ่ายเงินล่วงหน้าทั้งหมด เพราะเสี่ยงที่ผู้รับเหมาจะไม่ทำงานต่อ

โดยการแบ่งจ่ายเงินค้าจ้างเป็นงวด จะช่วยให้คุณมีอำนาจต่อรอง และเร่งให้ผู้รับเหมาทำงานได้ทันตามกำหนด

สรุป

สรุปแล้ว ผู้รับเหมา คือผู้รับจ้างรับผิดชอบงานก่อสร้าง บ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกบ้าน ให้แล้วเสร็จตามที่ระบุไว้ในสัญญา ด้วยการคิดราคาแบบเหมารวมสำหรับงานทั้งหมด แบ่งได้สองประเภท คือ 'ผู้รับเหมาแบบรายย่อย กับ ผู้รับเหมาแบบนิติบุคคล'

ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้าน การซ่อมแซมหรือปรับปรุง ทุกคนนั้นต่างพยายามหลีกเลี่ยงการโดนหลอก หรือถูกหาผลประโยชน์จากผู้รับเหมาที่ไม่ดี โดยอาจใช้หลักพิจารณา เช่น การดูผลงานที่ผ่านมา หรือการเช็คว่าเป็นนิติบุคคลไหม

และถ้าคุณอยากได้ผู้รับเหมาที่ดี ก็ควรจะเข้าใจการทำงานของบริษัทรับเหมาด้วยส่วนนึง และวางตัวในฐานะผู้ว่าจ้างให้เหมาะสม เพราะงานก่อสร้าง เป็นงานที่ผู้รับเหมากับผู้ว่าจ้างจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงนั่นเองครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง
เครื่องมือช่างก่อสร้าง
คู่มือเลือกซื้อและดูแลรักษา เครื่องมือช่างก่อสร้าง ครอบคลุมทั้งเครื่องมือก่อสร้างพื้นฐานและเฉพาะทาง พร้อมบอกแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ช่างก่อสร้าง
23 พ.ค. 2024
อุปกรณ์ก่อสร้าง
คู่มือมือใหม่ อุปกรณ์ก่อสร้าง กับทุกสิ่งที่ควรรู้ ตั้งแต่ประเภท รายชื่อ พร้อมเคล็ดลับการเลือกซื้ออุปกรณ์วัสดุก่อสร้าง
23 พ.ค. 2024
วัสดุก่อสร้าง วัสดุก่อ คืออะไร? มีอะไรบ้าง
พาไปรู้จัก วัสดุก่อสร้าง แต่ละชนิด ทั้งประเภทตามลักษณะวัตถุ และตามการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร พร้อมแนะนำการเลือกใช้วัสดุก่อให้เหมาะสม
20 พ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy